สไตล์การลงทุนไหนที่ใช่สำหรับคุณ!!!

การจะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ เราต้องเตรียมตัวให้พร้อม... การลงทุน ก็เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะเริ่มลงทุน เราจึงควรเริ่มต้นด้วยการเตรียมตัวเองให้พร้อม แต่สิ่งสำคัญที่นักลงทุนทุกคนต้องมีนั่นก็คือ 

การกำหนด เป้าหมายการลงทุน เพราะเป้าหมายการลงทุนถือเป็นหัวใจสำคัญในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งทุกวันนี้ทางเลือกในการลงทุนนั้นมีมากมาย การลงทุนแบบไร้ทิศทางโดยไม่รู้ว่าเราลงทุนไปเพื่ออะไร หรือเรียกว่าลงทุนตามข่าวสาร ตามกระแสก็อาจทำให้พลาดโอกาสดีๆ ที่เหมาะกับตัวเราไปอย่างน่าเสียดาย

ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายเบื้องต้น เช่น



เราจะลงทุนแบบระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) ระยะกลาง (1 – 5 ปี) หรือ
ระยะยาว (ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป) ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล บางคนอาจลงทุน
ระยะสั้นเพื่อเตรียมเงินไว้สำหรับซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ บางคนอาจลงทุนระยะกลางเพื่อเตรียมเงินไว้ดาวน์รถยนต์  

หรือบางคนอาจต้องการลงทุนระยะยาวเพื่อเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ เป็นต้น

ขั้นต่อมา เราจึงมาสำรวจดูว่า ตัวเรานั้น รับความเสี่ยงได้แค่ไหน ต้องการผลตอบแทนแบบไหน อัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ หรือมีเงินลงทุนมากน้อยเพียงใด แล้วเราจะรู้ว่า การลงทุนแบบไหนที่เหมาะกับเรามากที่สุด... 


*หากยังไม่ทราบ ลองเข้าไปทำแบบฝึกหัดที่นี่ได้ค่ะ >>>   ค้นหาสไตล์การลงทุนของเรา




นักลงทุน 4 สไตล์


1. Value Investor: นักลงทุนที่เน้นลงทุนหุ้นคุณค่า โดยเน้นหุ้นที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานในอนาคตที่ดี ราคาไม่แพง และเป็นกิจการที่มั่นคง นักลงทุนประเภทนี้จะลงทุนระยะยาวโดยผลตอบแทนที่ได้รับมา
จากการลงทุนในกิจการที่มีการเติบโต ซึ่งการเติบโตของกิจการจะส่งผลต่อราคาหุ้นที่ลงทุน ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

2. Yield Investor: นักลงทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงและถือหุ้นระยะยาว โดยผลตอบแทนที่ได้ไม่เน้นที่การซื้อขาย แต่เน้นที่เงินปันผลเป็นสำคัญ

3. Momentum Investor: นักลงทุนที่เน้นรอบการซื้อขายตามปัจจัยด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และปัจจัยทางเทคนิค รวมไปถึงกระแสเงินทุนจากต่างชาติ (Fund Flow) ในการตัดสินใจลงทุน ระยะ
เวลาการลงทุนของนักลงทุนประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านั้นว่าจะส่งผลกระทบต่อหุ้นที่ลงทุนเป็นระยะเวลาเท่าใด กำไรที่ได้จะมาจากส่วนต่างราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ในบางครั้งอาจมีผลตอบแทนจากเงินปันผลด้วย

4. Speculate Investor: นักลงทุนที่เน้นการเก็งกำไรเป็นสำคัญ โดยไม่สนใจปัจจัยพื้นฐาน นักลงทุนประเภทนี้จะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการตัดสินใจเข้าลงทุน และมักจะลงทุนระยะสั้น กำไรที่
นักลงทุนประเภทนี้ได้จะมาจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น


ทีนี้เราพอจะรู้แล้วว่าเราเหมาะกับการลงทุนแบบไหน ต่อมาเรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าแล้ว 
คุณสมบัติที่ดีของนักลงทุน นั้นยังต้องมีอะไรกันอีกบ้าง 

  • มีความรอบรู้

จากการศึกษาพบว่า นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จนั้นมักจะมีความกระตือรือร้น สนใจเรื่องราวต่างๆ รอบตัว นอกจากข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับการลงทุนโดยตรงแล้ว พวกเขายังให้ความสนใจกับสิ่งอื่นๆ ด้วย

  • ช่างสังเกต

นักลงทุนที่ดีควรเป็นคนที่ช่างสังเกต ใส่ใจในรายละเอียด รวมทั้งต้องจดจำข้อมูลที่สำคัญๆ ของหุ้นต่างๆ ทำให้ประเมินผลสถานการณ์ต่างๆ ได้รวดเร็วกว่าคนอื่นด้วย

  • ไม่มีอคติ

เพราะ“อคติ” จะทำให้เราตัดสินใจคลาดเคลื่อนไปจากหลักการและเหตุผลที่ควรจะเป็น 
นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จจึงต้องมีความคิดที่เป็นอิสระ ไม่ยอมให้ความคิดของตัวเองถูกครอบงำโดยกระแสของคนส่วนใหญ่และพยายามลดอคติในการตัดสินใจให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

  • รักษาวินัย

นักลงทุนจะต้องมีความอดทนในการรอคอย เพราะโอกาสดีๆ หรือความคิดดีๆ สำหรับการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ นั้นไม่ได้เกิดขึ้นทุกวัน Warren Buffet เองก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวินัยในการลงทุนสูงมาก
เขาเคยบอกว่าเคล็ด (ไม่) ลับของความสำเร็จในการลงทุนของเขาก็คือ ต้องรู้จักอดทนอดกลั้น รอคอยโอกาส ไม่ตัดสินใจตามกระแส และเมื่อโอกาสนั้นมาถึงต้อง “หวดให้สุดแรง” เพราะโอกาสดีๆ ที่จะผ่านเข้ามาในชีวิตของคนเรานั้นมีไม่บ่อยครั้งนั่นเอง (ปล. คล้าย ๆกับ น้ำขึ้นให้รีบตัก นั่นเองค่ะ ^^)

  • มีฉันทะในสิ่งที่ท ำ

นักลงทุนระดับปรมาจารย์ทุกคนนั้น “รัก” อาชีพการลงทุน พวกเขามีความสุขกับการได้ทำในสิ่งที่ทำอยู่มากกว่าจะคิดเรื่องของผลตอบแทนที่ได้ ซึ่งนั่นจะทำให้เราไม่รู้สึกเบื่อหน่าย และมีความมุ่งมั่น อดทนต่ออุปสรรคขวากหนามได้มากกว่าคนที่ไม่ได้รักในสิ่งที่ทำ หรือทำไปเพื่อหวังจะรวยเร็ว หรือรวยทางลัดอย่างสิ้นเชิง


เป็นยังไงกันบ้างคะ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลาย ๆ คนตัดสินใจได้แล้วว่าการลงทุนแบบไหนที่เหมาะกับเรา และเมื่อทราบแล้วก็อย่าลืมทำตามคุณสมบัติที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จเขาทำกันนะคะ ขอให้มือใหม่ทุกคนก้าวเข้าสู่ความสำเร็จเรื่องการลงทุนไปด้วยกันค่ะ ^^ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น