เคล็ดลับการวิเคราะห์หุ้น!!

วันนี้มีแนวคิดคิดดีๆมาฝากกันค่ะ ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนประเภทไหน ก็สามารถนำไปใช้ได้ >_<

ปัจจัยที่๋ผลักดันราคาหุ้นให้ขึ้นและลง นั้นมีอะไรบ้าง?

จริง ๆ แล้ว มีปัจจัยมากมายที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ซึ่งบางอย่างก็คาดการณ์ได้ง่าย แต่บางอย่างก็ยาก แต่โดยสรุปนั้นมี 3 ประการ ได้แก่




      1. ปัจจัยพื้นฐาน ที่จะกำหนดความพอใจที่จะซื้อขายหุ้นหรือก็คือการเลือกซื้อหุ้นจากบริษัทที่มีพื้นฐานดี ซึ่งเราจะดูจากงบการเงินของบริษัทค่ะ (จะซื้อเมื่อวิเคราะห์แล้วว่าหุ้นนั้นราคาถูกจริง หรือเป็นการซื้อถูกขายแพง) โดยอัตราส่วนที่สำคัญ ๆ จะมีดังนี้

- กำไรสุทธิต่อหุ้น (Earning Per Share, EPS) : เป็นค่าที่แสดงว่าบริษัทนั้นมีผลการดำเนินงานที่ดีและมีการเติบโต

- อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) : ถ้ามีค่าสูงสม่ำเสมอหรือเพิ่มขึ้นจะแสดงให้เห็นว่ามีอำนาจต่อรองกับลูกค้าได้สูง

ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานต่อรายได้ (Operation Cost Margin) : โดยบริษัทที่มีตราสินค้าที่ดีจะมีอัตราส่วนนี้ค่อนข้างสม่ำเสมอ และควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีอัตราส่วนนี้สูงและเพิ่มขึ้น

- อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) : ถ้าอัตราส่วนนี้สูงสม่ำเสมอ จะหมายถึงธรรมชาติของบริษัทนั้นว่ามีความสามารถในการแข่งขันสูง

- หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนทุน (Debt to Equity, D/E) : แสดงถึงบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน และไม่ต้องการหนี้จากการกู้ยืมสามารถระดมเงินได้ด้วยตัวเอง

- ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (Return on Equity, ROE) : ถ้ามีค่าสูงแสดงว่าบริษัทที่ใช้กำไรที่เก็บไว้อย่างมี
ประสิทธิภาพ

ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Asset, ROA) : ถ้ามีค่าเพิ่มขึ้นจะแสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ของบริษัทที่ดีขึ้น

ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (Price to Earning Ratio, P/E) : เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่าราคาตลาดของหุ้นเป็นกี่เท่าของกำไรต่อหุ้น ซึ่งถ้าค่าน้อย แปลว่ากำไรต่อหุ้นของบริษัทสูง เมื่อเทียบกับราคาหุ้นในขณะนั้นซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคาหุ้นนั้นๆ ถูกกว่าหุ้นตัวอื่นๆ ในทางทฤษฎี

ราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (Price to Book Value Ratio, P/BV) : จะแสดงว่าราคาซื้อขายของหุ้นเป็นกี่เท่าของมูลค่าทางบัญชี

2. ปัจจัยเทคนิค ไม่ใช่แค่การดูกราฟเท่านั้น แต่หลัก ๆ จะใช้การดูกราฟเพื่อหาจุดเข้าซื้อและจุดขายเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างราคา ซึ่งเทคนิคนี้จะไม่ค่อยดูงบการเงินละเอียดเหมือนแบบแรก แต่เป็นการหาจังหวะซื้อขายที่เหมาะสมมากกว่า (แบบนี้ซื้อแพงได้ แต่ต้องขายให้ได้แพงกว่า)  แต่รวมถึงในด้านต่างๆด้วย โดยมีแนวคิดหลักคือ ปัจจัยที่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัท ก็สามารถส่งผลต่อราคาหุ้นได้”  ปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น

1 ความเคลื่อนไหวของหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกัน
2 ตราสารทางเลือกอื่นๆ
3 การซื้อขายผิดปกติในตลาด
4 เทรนด์หรือแนวโน้มตลาดหุ้น
5 สภาพคล่อง
6 ปัจจัยอื่นๆ



      3. ภาวะตลาด เป็นปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดทิศทางราคาหุ้น เช่น ในภาวะที่ตลาดเป็นขาลง หุ้นก็จะปรับตัวขึ้นได้ยาก นั่นเอง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในหัวข้อนี้คือ ช่วงวิกฤติที่ตลาดหุ้นลงหนักอย่างปี 40 ที่หุ้นลงทุกตัว นั่นล่ะค่ะถือว่าเป็นภาวะตลาด 


เมื่อเรารู้ปัจจัยต่าง ๆ แล้ว ต่อมาเรามาดูเทคนิคกันดีกว่าค่ะ กับ “4 วิธีเพิ่มโอกาสทำกำไรในหุ้น

      1. ศึกษาข้อมูลของกิจการก่อนซื้อหุ้น โดยก่อนที่จะลงทุนในหุ้นควรศึกษาถึงภาพรวมของเศรษฐกิจรวมถึงปัจจัยบวกและลบของอุตสาหกรรมของหุ้นที่สนใจ สิ่งที่สำคัญคือต้องศึกษาถึงปัจจัยด้านต่างๆ เช่น
      ความเสี่ยง, ลักษณะการประกอบธุรกิจ, แผนงานในอนาคต, ลักษณะการบริหารของผู้บริหาร, งบการเงิน และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เป็นต้น ซึ่งข้อมูลนี้สามารถหาอ่านได้จากแบบรายงาน 56-1 หรือรายงานประจำปีค่ะ 

      2. ไม่ทำรายการซื้อๆขายๆหุ้นบ่อย เพราะหากทำการซื้อขายบ่อย ก็จะเสียค่าธรรมเนียมมากด้วย ดังนั้น การเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว จะทำให้เราประหยัดค่าธรรมเนียมได้ รวมทั้งไม่ต้องเสียเวลามาติดตามราคาขึ้นลงบ่อยเกินไปอีกด้วย

      3. อย่ายึดมั่นถือมั่นกับราคาในอดีตมากเกินไป นักลงทุนทั้งมือเก่ามือใหม่หลายคนชอบใช้ราคาหุ้นในอดีตเป็นราคาเป้าหมายว่าราคาจะต้องขึ้นไปถึงจุดนั้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการขึ้นลงนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทและความคาดหวังของนักลงทุนในตลาด ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อขาย ควรพิจารณาถึงมูลค่าที่เหมาะสมในขณะนั้น รวมถึงความคาดหวังจากกำไรของบริษัทในอนาคตเป็นหลัก

      4. การแบ่งลงทุนเป็นชุดๆ จะช่วยกระจายความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนผิดจังหวะเวลาได้
การเน้นลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรสูง หรือมีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ โดยหากเป็นหุ้นที่มีกำไรสูงมูลค่าหุ้นก็จะสูงตามไปด้วย และหากเป็นหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสูงและต่อเนื่อง ราคาหุ้นจะไม่ค่อยตกลงมามากในกรณีที่ตลาดปรับตัวลงแรง และเงินปันผลที่ได้ยังสามารถนำไปขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้อีกด้วยค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น